วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์ประยุกต์

บทที่ 1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมี่ชีวิตทุกชนิดต้องดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเอง ลักษณะต่างๆ จะถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งโดยมียีน (gene) เป็นตัวควบคุมรายละเอียดต่างๆ ยีนมี DNA เป็นองค์ประกอบซึ่งจะเป็นตัวควบคุมลักษณะทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งควบคุมเมทาโบลิซึม ลักษณะ รูปร่าง การสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต การศึกษากระบวนการถ่ายทอดลักษณะไปสู่รุ่นลูกหลานเป็นชีววิทยาสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในปัจจุบันและได้มีการค้นคว้ากันอย่างกว้างขวาง
บทที่ 2 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
นับเป็นเวลาที่ผ่านมานานมากแล้วที่สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดบนโลกและมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การคัดเลือกตามธรรมชาติมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามกาลเวลา ยิ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า วิวัฒนาการ (Evolution)
บทที่ 3  ความหลากหลายทางชีวภาพ
          สิ่งมีชีวิตในโลกของเรามีความหลากหลายมาก นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามสร้างเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ และก็พยายามตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิตให้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั่วโลก สำหรับการจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตในโลกของเราสามารถแบ่งได้ 4 อาณาจักรใหญ่ๆ คือ อาณาจักรสัตว์ อาณาจักรพืช อาณาจักรโพทิสตา และอาณาจักรมอเนอรา
บทที่ 4 เทคโนโลยีชีวภาพ
      ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งพื้นที่ที่อยู่บนบก และในน้ำ เนื่องจากอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนของโลก  ประชากรของไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 1 ของประชากรโลก แต่มีจำนวนชนิดพืชและสัตว์เป็นปริมาณถึงร้อยละ 7 ของจำนวนชนิดทั้งหมดในโลก ความหลากหลายทาง  ชีวภาพมีคุณประโยชน์ต่อชาวโลกเป็นอย่างมาก แต่ก็จัดเป็นปัญหาระดับโลกด้วยสาเหตุที่ประชากรมนุษย์ที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการใช้เทคโนโลยี การศึกษาถึงการนำเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ก็ต้องไม่ลืมที่จะศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีนั้นๆ ด้วย
บทที่ 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
      การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันมี 2 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเกิดปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสามารถเขียนสมการเคมีแทนปฏิกิริยาเคมีนั้นได้ ปฏิกิริยาเคมีที่พบมีหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาเคมีแต่ละปฏิกิริยาจะมีอัตราเร็วไม่เท่ากันขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยทั่วไปอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะวัดจากการเปลี่ยนแปลงของสารในปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงไปในหนึ่งหน่วยเวลา
บทที่ 6 ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์
      1. สารประกอบของคาร์บอน หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอน (C) เป็นองค์ประกอบหลัก
      2. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เป็นสารประกอบของธาตุคาร์บอนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และคาร์บอนเท่านั้น
      3. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม น้ำมัน เชื้อเพลิงต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นผลิตภัณฑ์จากกระบวนการดังกล่าว
      4. น้ำมันเบนซินจะมีการกำหนดคุณภาพด้วยเลขออกเทน ส่วนน้ำมันดีเซลจะกำหนอคุณภาพด้วยเลขซีเทน
บทที 7 พอลิเมอร์
      1. พอลิเมอร์ในธรรมชาติเกิดจากพืชและสัตว์ สร้างสารโมเลกุลขนาดเล็กเรียกว่า มอนอเมอร์ แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นสารโมเลกุลใหญ่คือ พอลิเมอร์ พอลิเมอร์ที่พืชและสัตว์สังเคราะห์ขึ้น ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส ใยไหม ขนสัตว์ ยาง เป็นต้น
      2. พอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นการนำเอามอนอเมอร์หลายๆ โมเลกุลมาสังเคราะห์เป็นโพลิเมอร์ โดยกระบวนการรวมตัวแบบควบแน่น และการรวมตัวแบบต่อเติม ตัวอย่างพอลิเมอร์สังเคราะห์ ได้แก่ พลาสติก เส้นใย และยางสังเคราะห์ เป็นต้น
      3. พลาสติกมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน จัดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ เทอร์มอพลาสติก เป็นพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และพลาสติกเทอร์มอเซตซึ่งเป็นพลาสติกที่ไม่สามารถนำมาหลอมละลายใช้อีกได้
บทที่ 8 สารชีวโมเลกุล
1.       สารชีวโมเลกุล คือสารอินทรีย์ในอาหาร ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
2.       เอนไซม์ จัดเป็นโปรตีนประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิต

บทที่ 9 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
          คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นตามขวางที่ประกอบด้วย สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปด้วยกัน ในทิศทางตั้งฉาก และเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าก็สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ในสุญญากาศได้โดยมีความเร็วเท่ากับแสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีมากมายหลายความถี่ตั้งแต่ต่ำที่สุดจนถึงสูงที่สุด ซึ่งเราเรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้ว่า สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่น คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ ฯลฯ ซึ่งคลื่นเหล่านี้ บางชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารโทรคมนาคมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
บทที่ 10 พลังงานนิวเคลียร์
1.       พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ
2.       ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกันการเปลี่ยนแปลงที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีทำให้เกิดธาตุชนิดใหม่ ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ปฏิกิริยาฟิสชัน และปฏิกิริยาฟิวชัน
3.       พลังงานนิวเคลียร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การรักษาโรค ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็มีการนำไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดโทษด้วย